วันจันทร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

คำพ้องรูป

แบบทดสอบก่อนเรียน
คำชี้แจง ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้อง
1. " คำพ้องเสียง " หมายความว่าอย่างไร
ส่วนบนของฟอร์ม
ก. เสียงต่างกัน - ความหมายเหมือนกัน ข. เสียงเหมือนกัน - ความหมายต่างกัน ค. เสียงเหมือนกัน - ความหมายเหมือนกัน ง. เสียงต่างกัน - ความหมายต่างกัน
ส่วนล่างของฟอร์ม
2. ข้อใดเป็นคำพ้องเสียง
ก. กาญจน์ , กรรณ ข. ศูนย์ , ศุลกากร ค. พันธุ์ , พรรณ ง. ขัน , ขัน
3. ข้อใดพ้องเสียงกับคำว่า " การณ์ "
ก. กาฬ กานต์ ข. การ กัณฑ์ ค. กราน กาล ง. กาญจน์ กรรณ
4. ข้อใดเป็นคำพ้องรูปทุกคำ
ก. สระ ยุติ ข. กรี กลี ค. เสมา เขม่า ง. เพลา ปรัก
5. คำพ้องในข้อใดความหมายต่างกันมากที่สุด
ก. ทุกคนเล่าเรื่องขำขันแต่เขาไม่รู้สึกขันเลย ข. กันพยายามกันพวกเขาไม่ให้ทะเลาะกัน ค. เธอไม่หรือว่าเธอกำลังหลงตัวเอง ง. พระฉันอาหารที่ฉันนำมาถวาย
6. ข้อใดไม่มีคำพ้องเสียง
ก. เขาใส่ของมีค่าจึงถูกฆ่าตาย ข. คำว่าสระน้ำเวลาเขียนต้องใส่สระอะ ค. พ่อซื้อพันธุ์ไม้มาหนึ่งพันบาท ง. กลิ่นนี้ไม่ใช่กลิ่นเหม็นไหม้
7. ข้อใดไม่มีคำพ้องเสียง
ก. เขาเอาขันไปตักน้ำมาสามขันข. สุนัขเป็นสัตว์ที่มีความซื่อสัตย์ ค. คนทุกคนเกิดมาต้องมีความทุกข์ ง. ผู้หญิงคนที่นุ่งผ้าซิ่น ถูกรถชนจนสิ้นชีวิต
8. ข้อใดมีคำพ้องเสียง
ก. คุณยายสวดมนต์ทุกวัน ข. แม่ทำกล้วยบวดชีให้พระบวชใหม่ ค. ป้าบุญมาไปทำบุญที่วัด ง. อากาศเป็นพิษชีวิตจะสั้น
9. ข้อใดมีคำพ้องรูป
ก. พันธ์ ข. กาญจน์ ค. เพลา ง. หล้า
10. ข้อใดมีคำพ้องเสียง
ก. ทรุดโทรม ข. ขวนขวายค. แหนง. เยาว์

1. คำพ้องรูป ได้แก่ คำที่เขียนเหมือนกัน แต่อ่านออกเสียงไม่เหมือนกัน และมีความหมายต่างกัน เวลาอ่านต้องสังเกต ความหมายในประโยคจึงจะอ่านได้ถูกต้อง
คุณครูให้นักเรียนนั่งสมาธิทุกวัน สมาธิ อ่านว่า สะ - มา - ทิ คือ ความตั้งมั่นแห่งจิต ความสำรวมใจให้แน่วแน่
คุณพ่อชอบนั่งขัดสมาธิ สมาธิ อ่านว่า สะ - หมาด คือ ขาพาดขัดไขว้กัน
น้องอาบน้ำในสระ สระ อ่านว่า สะ แปลว่า บ่อ น้องเขียนสระอา สระ อ่านว่า สะ - หระ คือตัวที่ทำให้คำมีเสียง
บนหัวกุ้งมีกรีที่ตรงกลาง กรี อ่านว่า กะ - รี ิคือ กระดูกบนหัวกุ้ง
คำเรียกช้างแต่ก่อนเก่าเขาเรียกกรี กรี อ่านว่า กรี คือ ช้าง ผู้มีมือ
แบบทดสอบหลังเรียน
คำชี้แจง ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้อง
1. " คำพ้องเสียง " หมายความว่าอย่างไร
ส่วนบนของฟอร์ม
ก. เสียงต่างกัน - ความหมายเหมือนกัน ข. เสียงเหมือนกัน - ความหมายต่างกัน ค. เสียงเหมือนกัน - ความหมายเหมือนกัน ง. เสียงต่างกัน - ความหมายต่างกัน
ส่วนล่างของฟอร์ม
2. ข้อใดเป็นคำพ้องเสียง
ก. กาญจน์ , กรรณ ข. ศูนย์ , ศุลกากร ค. พันธุ์ , พรรณ ง. ขัน , ขัน
3. ข้อใดพ้องเสียงกับคำว่า " การณ์ "
ก. กาฬ กานต์ ข. การ กัณฑ์ ค. กราน กาล ง. กาญจน์ กรรณ
4. ข้อใดเป็นคำพ้องรูปทุกคำ
ก. สระ ยุติ ข. กรี กลี ค. เสมา เขม่า ง. เพลา ปรัก
5. คำพ้องในข้อใดความหมายต่างกันมากที่สุด
ก. ทุกคนเล่าเรื่องขำขันแต่เขาไม่รู้สึกขันเลย ข. กันพยายามกันพวกเขาไม่ให้ทะเลาะกัน ค. เธอไม่หรือว่าเธอกำลังหลงตัวเอง ง. พระฉันอาหารที่ฉันนำมาถวาย
6. ข้อใดไม่มีคำพ้องเสียง
ก. เขาใส่ของมีค่าจึงถูกฆ่าตาย ข. คำว่าสระน้ำเวลาเขียนต้องใส่สระอะ ค. พ่อซื้อพันธุ์ไม้มาหนึ่งพันบาท ง. กลิ่นนี้ไม่ใช่กลิ่นเหม็นไหม้
7. ข้อใดไม่มีคำพ้องเสียง
ก. เขาเอาขันไปตักน้ำมาสามขันข. สุนัขเป็นสัตว์ที่มีความซื่อสัตย์ ค. คนทุกคนเกิดมาต้องมีความทุกข์ ง. ผู้หญิงคนที่นุ่งผ้าซิ่น ถูกรถชนจนสิ้นชีวิต
8. ข้อใดมีคำพ้องเสียง
ก. คุณยายสวดมนต์ทุกวัน ข. แม่ทำกล้วยบวดชีให้พระบวชใหม่ ค. ป้าบุญมาไปทำบุญที่วัด ง. อากาศเป็นพิษชีวิตจะสั้น
9. ข้อใดมีคำพ้องรูป
ก. พันธ์ ข. กาญจน์ ค. เพลา ง. หล้า
10. ข้อใดมีคำพ้องเสียง
ก. ทรุดโทรม ข. ขวนขวายค. แหนง. เยาว์

แผนการสอนคำพ้องรูป

แผนการจัดการเรียนรู้
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
บทที่ ๑ เรื่องการเลือกใช้คำให้ถูกต้องตามความหมาย จำนวน ๑ ชั่วโมง
แผนการเรียนรู้ที่ ๑ เรื่องคำพ้องรูป – พ้องเสียง เวลา ๑ ชั่วโมง

มาตรฐาน ท ๔.๑ เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย การเปลี่ยนแปลงของภาษาและ
พลังของภาษา ภูมิปัญญาทางภาษา และรักภาษาไทยไว้เป็นสมบัติของชาติ

มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น สามารถใช้คำ กลุ่มคำ ตามชนิดและหน้าที่มาเรียบเรียงเป็นประโยค
ใช้ประโยคสื่อสารได้ชัดเจน รู้จักใช้คำที่มีความหมายโดยตรงและ
ความหมายโดยนัย
สาระสำคัญ
๑. การใช้คำพ้องรูป-พ้องเสียง ผู้พูดหรือผู้เขียนจะต้องรู้จักใช้คำให้ถูกต้องตามบริบทของประโยค
๒. การใช้คำพ้องรูป-พ้องเสียงได้ถูกต้อง จะช่วยให้ผู้พูดหรือผู้เขียนสามารถสื่อความหมายได้ตรงตามจุดประสงค์

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
สามารถใช้คำพ้องรูป-พ้องเสียง ในการสื่อความหมายได้อย่างถูกต้อง

สาระการเรียนรู้
๑. คำพ้องรูป คือคำที่เขียนเหมือนกัน ออกเสียงต่างกัน และความหมายก็ต่างกันด้วย
ตัวอย่าง ในเพลานี้ฉันว่าควรจะเพลาๆเรื่องการทะเลาะกันได้แล้ว ประเทศชาติจะได้สงบสุขเสียที
เพลา ( เพ-ลา) คำแรกเป็นคำนาม หมายถึง กาล,คราว
เพลา (เพลา) คำที่สองเป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง เบาลง

๒. คำพ้องเสียง คือคำที่ออกเสียงเหมือนกัน แต่เขียนต่างกัน และความหมายก็ต่างกันด้วย
ตัวอย่าง เขาเอาน้ำที่ใช้ล้างรถไปรดน้ำต้นไม้
รถ คำแรกเป็นคำนาม หมายถึง ยานพาหนะ
รด คำที่สองเป็นคำกริยา หมายถึง เท ราด หรือสาดน้ำ

๓.คำพ้องทั้งรูปและเสียง คือคำที่เขียนเหมือนกัน ออกเสียงเหมือนกัน แต่ความหมายต่างกัน
ตัวอย่าง ตาเตือนฉันว่าไม่ควรเอามือขยี้ตาจะทำให้เป็นโรคตาแดง
ตา คำแรกเป็นคำนาม หมายถึง ญาติผู้ใหญ่
ตา คำที่สองเป็นคำนาม หมายถึง อวัยวะที่ใช้ในการดู
ตา คำที่สาม หมายถึง โรคชนิดหนึ่ง

กระบวนการเรียนรู้
๑. ครูตั้งคำถามถามนักเรียนว่า “นักเรียนคิดว่าอะไรจะเกิดขึ้นหากเราใช้ภาษาในการสื่อความหมายไม่ถูกต้อง” เพื่อให้นักเรียนเห็นถึงความสำคัญของเรื่องที่จะเรียน
- เกิดการเข้าใจผิดกันได้ เช่น ตาของฉันเจ็บ
( ตาที่เป็นอวัยวะมีอาการเจ็บ หรือ ตาที่เป็นญาติผู้ใหญ่ได้รับบาดเจ็บ)
- การสื่อสารไม่บรรลุวัตถุประสงค์ของผู้พูด

๒. นักเรียนทบทวนเรื่องคำพ้องรูป-พ้องเสียง ตามที่ได้เคยเรียนมาจากชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
( CIPPA ขั้นที่ ๑ การทบทวนความรู้เดิม )
๒.๑ ครูตั้งคำถามถามนักเรียนว่า “นักเรียนคิดว่าคำพ้องรูปกับคำพ้องเสียงต่างกันอย่างไร” (ให้นักเรียนคนหนึ่งอธิบายให้เพื่อนร่วมห้องฟัง หากมีบางส่วนที่อธิบายยังไม่ชัดเจนครูจะเป็นผู้ที่เสริมให้เข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้น)
๒.๒ ครูเป็นผู้สุ่มเลือกนักเรียนให้ยกตัวอย่างคำพ้องรูป
- เพลา (กาล,คราว / เบาๆ)
๒.๓ ครูเป็นผู้สุ่มเลือกนักเรียนให้ยกตัวอย่างคำพ้องเสียง
- รถ (ยานพาหนะ)
- รด (เท ราด หรือสาดน้ำ)
๒.๔ ครูเป็นผู้ตั้งคำถามว่า “นอกจากคำพ้องรูป-พ้องเสียงแล้ว นักเรียนคิดว่ามีคำใดบ้างที่พ้องทั้งรูปและเสียง”
- ตา ( อวัยวะที่ใช้ดู / ญาติผู้ใหญ่)
- เพลา ( ส่วนประกอบของรถ / เบาๆ )



๓. ให้นักเรียนแต่ละคนทำใบงานที่๑ เรื่องคำพ้องรูป-พ้องเสียงที่ครูแจกให้ โดยนำคำที่กำหนดให้มาเติมในช่องว่างเพื่อให้เป็นประโยคที่ถูกต้องและชัดเจน
( CIPPA ขั้นที่ ๓ การเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิม)

(ใบงานที่ ๑ อยู่ด้านหลังแผนการจัดการเรียนรู้)

๔. ครูสุ่มเลือกให้นักเรียนออกมาเขียนประโยคที่สมบูรณ์แล้วบนกระดานข้อละ ๑ คน พร้อมทั้งให้นักเรียนที่ออกมาเขียน อ่านประโยคนั้นให้เพื่อนฟัง และให้เพื่อนที่นั่งฟังอ่านตาม
( CIPPA ขั้นที่ ๖ การปฏิบัติ และการแสดงผลงาน)

๕. ให้นักเรียนแต่ละคนเขียนคำพ้องรูป-พ้องเสียง ที่เพื่อนออกมานำเสนอลงในใบงานที่ ๑
ส่งท้ายชั่วโมง
(ใบงานที่ ๑ อยู่ด้านหลังแผนการจัดการเรียนรู้)

๖. ให้นักเรียนทั้งชั้นเรียนร่วมกันสรุปความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องคำพ้องรูป-พ้องเสียง ที่ได้เรียนในวันนี้ แล้วเขียนลงในใบงานที่ ๒ ส่งงานท้ายชั่วโมง
(ใบงานที่ ๒ อยู่ด้านหลังแผนการจัดการเรียนรู้)

๗. ให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดที่๑ เป็นการบ้าน ส่งในสัปดาห์หน้า
( CIPPA ขั้นที่ ๗ การประยุกต์ใช้ความรู้)

(แบบฝึกหัดที่ ๑ อยู่ด้านหลังแผนการจัดการเรียนรู้)

สื่อ / แหล่งการเรียนรู้
๑. ใบงานเรื่องคำพ้องรูป-พ้องเสียง
๒. แบบฝึกหัดเรื่องคำพ้องรูป-พ้องเสียง

การวัดผลประเมินผล
๑. วิธีการ
๑.๑ สังเกต
โดยพิจารณาจากการมีส่วนร่วมของนักเรียนในการตอบคำถามในชั้นเรียน และสังเกตพฤติกรรมการทำงานที่ได้รับมอบหมาย

๑.๒ ตรวจสอบ
- ตรวจจากการทำใบงานที่ ๑ ส่ง
(เขียนคำพ้องรูป- พ้องเสียง ที่เพื่อนออกมานำเสนอลงในใบงานที่ ๑ ส่งงานท้ายชั่วโมง)
- ตรวจจากการทำใบงานที่ ๒ ส่ง
(สรุปความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องคำพ้องรูป- พ้องเสียง ที่ได้เรียนในวันนี้ลงในใบงานที่ ๒ ส่งงานท้ายชั่วโมง)
- ตรวจจากการทำแบบฝึกหัดที่ ๑
(เติมคำพ้องรูป-พ้องเสียงที่กำหนดให้ลงในช่องว่าง ส่งในสัปดาห์หน้า)

๒. เครื่องมือวัดและประเมิน
๒.๑ แบบสังเกตการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
๒.๒ ใบงานเรื่องคำพ้องรูป-พ้องเสียง
๒.๓ แบบฝึกหัดเรื่องคำพ้องรูป-พ้องเสียง

๓. เกณฑ์การวัดและประเมิน
เกณฑ์การสังเกตการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน คะแนนเต็ม ๙ คะแนน หากนักเรียนได้คะแนนรวมตั้งแต่ ๖ คะแนนขึ้นไป ถือว่าผ่านเกณฑ์การประเมิน

เกณฑ์ใบงานที่๑ มีคำพ้องรูป-พ้องเสียงทั้งหมด ๒๐ คำ ถือเกณฑ์การผ่านร้อยละ ๙๐ ทำถูกต้องตั้งแต่ ๑๘ คำขึ้นไป ถือว่าผ่านเกณฑ์การประเมิน

เกณฑ์ใบงานที่๒ สรุปความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องคำพ้องรูป-พ้องเสียง พร้อมทั้งยกตัวอย่างได้ถูกต้องและชัดเจน ถือว่าผ่านเกณฑ์การประเมิน

เกณฑ์แบบฝึกหัด มีแบบฝึกหัดจำนวน ๑๐ ข้อ ถือเกณฑ์การผ่านร้อยละ ๗๐ ทำถูกต้องตั้งแต่ ๗ ข้อขึ้นไป ถือว่าผ่านเกณฑ์การประเมิน






บันทึกหลังการสอน

สรุปผลการสอน
..............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

ปัญหาและอุปสรรค
..............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

แนวทางแก้ไข
..............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................




ลงชื่อ...........................................................ผู้สอน
(........................................................................)
............/............/..................

วันเสาร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

รักจัง


ให้คุณ


สกิน


Free Skinhi5 CREDIT : hi5thai.com

คืนหนาวเงาเหงา

ผู้ติดตาม

เกี่ยวกับฉัน

นักศึกษาครุศาสตร์ ภาษาไทยปี 2